Always with Me

องค์การระหว่างประเทศ

     แรกเริ่มมนุษย์มีแนวคิดที่ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติดังจะเห็นจากงานเขียนของ "อิมมานูเอล คานส์" [Immanuel Kant] ในหนังสือ Perpetual Peace: A Philosophical Sketch


เขาย้ำแนวทางว่า "ไม่ใช่การที่รัฐบาลครองโลก แต่ให้เคารพพลเมืองของตน และต้อนรับชาวต่างประเทศ ดังนั้นแล้วสันติภาพระหว่างประเทศก็จะเกิดขึ้น"
     ต้นศตวรรษที่ 18 เกิดสงครามในฝรั่งเศสนำโดย นโปเลียน โบนาปาร์ต หนึ่งในสามผู้นำของคณะกงสุลฝรั่งเศสได้ทำการปฏิวัติฝรั่งเศส ช่วง ค.ศ. 1789 - 1799


ทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของอภิชนและทางศาสนาหมดสิ้นไป ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ อภิชนและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดยความเสมอภาค ความเป็นพลเมือง และสิทธิที่ไม่โอนให้กันได้ อันเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา จากนั้น นโปเลียน โบนาปาร์ต ก็สถาปนาตัวเองขึ้นเป็น จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งจักรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง


และได้เริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว ทำให้เกิด "สงครามนโปเลียน" ราว ค.ศ. 1803 และสิ้นสุดลงค.ศ. 1815 เพราะได้รับความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการรุกรานรัสเซียใน ค.ศ. 1812 ความพ่ายแพ้ของนโปเลียนนั้นเป็นผลให้มีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงขึ้นครองฝรั่งเศสอีกครั้งด้วยการช่วยเหลือของพันธมิตรของชาติมหาอำนาจในยุโรปได้แก่ ออสเตรีย, ปรัสเซีย, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร, โปรตุเกส, สวีเดน, สเปน และรัฐเยอรมันอีกหลายๆรัฐ จะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นนิยมในอำนาจไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหนก็ตาม (นี่ขนาดนโปเลียนพยายามที่จะเปลี่ยนให้ทุกคนเท่าเทียมยังถูกพวกอำนาจเก่าและผู้เสียผลประโยชน์ช่วยกันนำอำนาจกลับคืนตามเดิม) จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 ได้เกิดความขัดแย้งกันของประเทศในแถบยุโรปอันนำมาซึ่ง "มหาสงครามโลกครั้งที่ 1" ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918


เกิดการแบ่งประเทศมหาอำนาจเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดย 3 ไตรภาคี คือ อังกฤษ ,ฝรั่งเศส และรัสเซีย อีกฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง นำโดย 3 ไตรพันธมิตร คือ เยอรมนี ,ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนับว่าเป็นความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงคราม
นโปเลียน สาเหตุของสงครามนั้นมีหลายปัจจัยเช่น นโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย แต่ชนวนเหตุสำคัญคือการที่ กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมยูโกสลาฟ ทำการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและโซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์กพระชายา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914

  
อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ,โซฟี ดัชเชส และกัฟรีโล ปรินซีป ตามลำดับ 

ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดฮับสบูร์กต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย นำมาซึ่งสงครามในวันที่ 28 กรกฎาคม 1914 พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะสงคราม และความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านอาณานิคมต่างๆ เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย และออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารได้สิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดใหม่หลายประเทศ

    ในปีถัดมาคือ 1919 ได้เกิดการประชุมสันติภาพที่ปารีส เป็นการประชุมของฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 นำโดย 3 ประเทศใหญ่คือ อเมริกา ,ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร จัดขึ้นที่กรุงปารีส มีทูตกว่า 32 ประเทศเดินทางเข้าร่วมทำให้เกิด 2 สิ่งคือ สนธิสัญญาแวร์ซาย และ สันนิบาตชาติ 

สนธิสัญญาแวร์ซาย

     - ได้กำหนดให้จักรวรรดิเยอรมันต้องยินยอมรับผิดในฐานะผู้ก่อสงครามแต่เพียงผู้เดียว
     - เยอรมนีถูกปลดอาวุธ ถูกจำกัดอาณาเขตดินแดน
     - ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่กลุ่มประเทศฝ่ายไตรภาคีเป็นจำนวนมหาศาล

     มูลค่าของค่าปฏิกรรมสงครามที่เยอรมนีจะต้องจ่ายนั้นสูงถึง 132,000 ล้านมาร์ก (ราว 31,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 6,600 ล้านปอนด์) อันเป็นจำนวนที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้และไม่สร้างสรรค์ และเยอรมนีอาจต้องใช้เวลาชำระหนี้จนถึง ค.ศ. 1988 การชำระค่าปฏิกรรมสงครามนัดสุดท้ายมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วันครบรอบยี่สิบปีการรวมประเทศเยอรมนี และเก้าสิบสองปีพอดีหลังสงครามยุติ

     เยอรมันนั้นไม่พอใจกับอนุสัญญานี้แต่ก็มิได้มีทางเลือกอื่นเลย ประชาชนเยอรมันไม่ให้การสนับสนุนสนธิสัญญานี้ และชาวยิวก็เป็นพวกที่ถูกโทษเป็นส่วนใหญ่ว่าสนับสนุนสนธิสัญญาแวร์ซาย นั้นทำให้คะแนนนิยมในพรรคนาซีรุ่งเรืองส่งผลให้ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)


 
Adolf Hitler และ Ferdinand Foch ตามลำดับ

ขึ้นมามีอำนาจในเยอรมันนีช่วงหลายปีหลังจากนั้น ในตอนที่ลงนามมีคนเชื่อว่าสนธิสัญญานี้ไม่อาจทำให้เยอรมันสงบ หรืออ่อนแอลงได้อย่างถาวร และจะนำมาซึ่งความขัดแย้งอื่นๆในอนาคต Ferdinand Foch ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝรั่งเศสได้กล่าวประโยคที่โด่งดังเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "this is not peace, it is an armistice for 20 years" หรือ นี่ไม่ใช่สันติภาพ แต่เป็นสัญญาพักรบที่มีอายุ 20 ปีเท่านั้น และแน่นอนหลังจากนั้น 20 ปีมหาสงครามครั้งใหม่ก็ปะทุขึ้น

สันนิบาตชาติ หรือ League of Nations


     - เพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต
- ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาและการทูต
- พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น สิทธิแรงงาน ทาส ยาเสพติด การค้าอาวุธ
- นับเป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกที่มีภารกิจในด้านนี้

อย่างไรก็ดีเนื่องจากสันนิบาตไม่มีกองกำลังของตัวเอง จึงต้องพึ่งพาชาติมหาอำนาจในการดำเนินการตามคำสั่ง สันนิบาตชาติจึงล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อสงครามจบถูกยุบไปและแทนที่ด้วยสหประชาชาติกระทั่งปัจจุบัน
(บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งคือ ประธานธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ของอเมริกา)

ต่อมาไม่นานก็เกิด "มหาสงครามโลกครั้งที่ 2" ในปี ค.ศ.1939 ถึง 1945


โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอีกครั้งคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ และ ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลี และจักรวรรดิญี่ปุ่น มีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จ" กล่าวคือทุ่มทุกอย่างที่มี ทั้งเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยประการทั้งปวงสงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน ฉนวนเหตุเกิดจากการที่เยอรมนีและรัฐบริวารสโลวาเกียบุกครองโปแลนด์ วันที่ 3 กันยายน 1939 ทำให้ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับเยอรมนี ตามมาด้วยบรรดาประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติ ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งที่เกาะบริเตน แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติก


การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ. 1942 หลังความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์ และหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะยุโรปในอียิปต์และที่สตาลินกราด ใน ค.ศ. 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 หลังสิ้นสุดสงครามทำให้สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม และเกิดสหประชาชาติ

สหประชาชาติ หรือ United Nations [UN]


สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก โดยความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt)

- แทนที่สันนิบาตชาติ
- เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ
- เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา
- เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก
- เพื่อสร้างดุลแห่งการพึ่งพาอาศัยกัน
- เพื่อแก้ไขปัญหาอาณานิคม
  - เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ 

ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ (ประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นับเป็นสมาชิกสหประชาชาติอันดับที่ 55) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United State of America) เลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายบัน คี มุน ชาวเกาหลีใต้ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ต่อจากนายโคฟี่ อันนัม)



องค์การสหประชาชาติประกอบด้วย องค์การหลัก 6 องค์กร ได้แก่ 

1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly)
     - เป็นที่ประชุมซึ่งรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดประชุมกันเป็นประจำในสมัยประชุมประจำปี

2. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
     - ระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยใช้กำลังทหารได้
     - รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
     - สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้

3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council)
     - ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม

4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council)
     - ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะทรัสตี

5. สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ (The Secretariat)
     - มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ

6. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)
     - พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่น ๆ

     นอกจาก 6 องค์กรหลักข้างต้นแล้วสหประชาชาติยังมีองค์กรย่อยที่ทำหน้าที่หลากหลายอีกถึง 17 องค์กรด้วยกัน เช่น WHO (องค์การอนามัยโลก) ,FAO (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) ,UNESCO (องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) และ WB (เครือธนาคารโลก) เป็ฯต้น

ในปี ค.ศ. 1949 ได้เกิด 2 สิ่งเพื่อต้องการป้องกันสงครามขึ้น นั้นคือ อนุสัญญาเจนีวา และ องการ NATO

อนุสัญญาเจนีวา

     อนุสัญญาเจนีวา เกิดช่วง ค.ศ. 1949 คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม


     เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบ และอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้

อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มี สภาพดีขึ้น

อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยและลูกเรือที่อับปางของกอง กำลังรบในทะเล ให้มีสภาพดีขึ้น

อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก

อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้

- การรักษาพยาบาล แก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน

- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี

- ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้

- ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จับตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

(ประเทศไทยก็เป็นภาคีในสนธิสัญญาเจนีวาด้วย และ ได้ออกกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาด้วย นั่นคือ พระราชบัญญัติ บังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก พ.ศ. 2498)

NATO [The North Atlantic Treaty Organization] หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ



     NATO ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วยประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิก 28 ประเทศ  มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

จุดประสงค์ของการก่อตั้ง

     - เพื่อจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารในการถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต)
     - ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกรณีที่ประเทศสมาชิกถูกคุกคามจากภายนอก
     - ส่งเสริมความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ

   
ไม่ว่าจะผ่านมากี่ศตวรรษก็ตามแต่สงครามไม่เคยจางหายไป ผมก็พึ่งจะมีโอกาสได้อ่านและค่อยๆเรียบเรียงเหตุการณ์อย่างคร่าวๆ ผมว่ามันตลกดีนะครับรบกันไปรบกันมา ตั้งองค์การนั้น ลงนามสัญญานี่ แต่สุดท้ายก็ยังเกิดสงครามอยู่ดี แต่นั้นทำให้มีทุกวันนี้ครับ เพราะเราต่างทราบถึงความโหดร้ายและน่ากลัวของสงคราม ไม่มีใครชื่นชอบและอยากให้มันเกิดจึงได้มีการพยายามก่อตั้งองค์กรต่างๆ หาข้อตกลง และการควบคุมด้านอาวุธ เพื่อลดโอกาสในการเกิดสงครามครั้งใหญ่ๆขึ้นแบบครั้งในอดีต มิใช่แค่นั้นยังพยายามส่งเสริม ดูแล และพัฒนาสังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น หากผมขยันจะมาเขียนบทความเกี่ยวกับองค์กรย่อยๆใน UN เพิ่มเติมนะครับ แต่สำหรับบทความนี้ผมว่ามันชักจะเริ่มยาวเกินไปแล้วหละ คงต้องพักสายตาและหยุดเขียนเพียงแค่นี้ . . .ไว้เจอกันใหม่บทความหน้าครับ

ปล. หากท่านใดเห็นข้อผิดพลาดของข้อมูลรบกวนแจ้งผมเพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขด้วยนะครับ

Kingveggie

I'm a Dreamer who try something new. Such as write this Blog. ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น